เกี่ยวกับเรา

Alliance Anti trafic

ตั้งแต่ปี 2001 Alliance Anti Trafic (AAT) ได้ปกป้องสตรีและเด็กผู้หญิงจากความรุนแรงทางเพศ เราจดทะเบียนทั้งในและต่างประเทศทำให้เรามีความสามารถในทำงานที่ครอบคลุมในภูมิภาค

เราได้ก่อตั้งโครงการในประเทศต่างๆ เช่น ประเทศไทย เวียดนาม ลาว รัฐฉาน และพื้นที่เพื่อปกป้องสตรีและเด็กผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อ โดยให้ความช่วยเหลือ สนับสนุนช่วยเหลือทางกฎหมาย สร้างทางเลือกด้านอาชีพ และสนับสนุนพวกเขาเพื่อที่พวกเขาจะสามารถมีส่วนร่วมในการปกป้องผู้อื่น

นอกจากนั้นเรายังทำงานกับชุมชนเพื่อสร้างความตระหนักรู้ ให้ความเข้าใจเพื่อที่พวกเขาจะสามารถป้องกันความรุนแรงทางเพศ ทั้งในพื้นที่และทางออนไลน์ ที่อาจเกิดกับบุตรสาวของพวกเขา

13 ปีแห่งความสำเร็จ

  • 2003: คดีในมาเลเซีย

    คดีค้ามนุษย์ข้ามชาติคดีแรกในมาเลเซีย - หลังจากเปิดโครงการ เราได้รับเคสคดีค้ามนุษย์จากเวียดนามไปยังมาเลเซียผ่านกัมพูชาและไทย ภายใต้เครือข่ายองค์กรอาชญากรรมข้ามชาติขนาดใหญ่

  • 2004: การคุ้มครองผู้เสียหายในประเทศไทย

    ความสำเร็จในการพัฒนาการคุ้มครองผู้เสียหายในประเทศไทย และการเคลื่อนไหวเรื่องการค้ามนุษย์ได้รับความสนใจโดยรัฐบาลเวียดนาม

  • 2005: ข้อตกลงกับสมาพันธ์สตรีแห่งชาติ

    รัฐบาลเวียดนามยอมรับการค้ามนุษย์ ในปีเดียวกัน AAT ได้ลงนามในข้อตกลงกับสหภาพสตรีแห่งชาติ เพื่อจัดตั้งศูนย์รับผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ใน เมืองเกิ่นเทอ ประเทศเวียดนาม และขณะเดียวกันเครือข่ายองค์กร NGOs ได้ถูกสร้างขึ้น

  • 2006: เครือข่ายความร่วมมือ

    กระบวนการทางกฎหมายที่ประสบความสำเร็จครั้งแรกในประเทศไทยจาก AAT และเครือข่ายความร่วมมือ ในปีเดียวกันนั้นได้มีการจัดตั้งกองกำลังเฉพาะกิจระดับภูมิภาค คณะทำงานประกอบด้วย AAT องค์กรพัฒนาเอกชนจากมาเลเซีย สิงคโปร์ เวียดนาม และคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนทั้งมาเลเซียและไทย นอกจากนี้ การคุ้มครองและการส่งกลับประเทศครั้งแรกยังเกิดขึ้นภายใต้ความร่วมมือระหว่างไทยและมาเลเซีย ในขณะที่มาเลเซียยังไม่ยอมรับการค้ามนุษย์อย่างเป็นทางการในขณะนั้น

  • 2007: ที่ปรึกษาปัญหาผู้หญิง

    จากความสำเร็จของปฏิบัติการกู้ภัย AAT ได้เป็นที่ปรึกษาประเด็นสตรีในคณะอนุกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ สุดท้าย มีการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างตำรวจเกี่ยวกับการคุ้มครองสตรีในโครงสร้างตำรวจไทย

  • 2008: ปฏิบัติการในประเทศลาว

    AAT เริ่มดำเนินการครั้งแรกในลาวในปีนี้ ด้วยความสำเร็จนี้ เรายังมีคณะทำงานที่ภาคใต้ของประเทศไทยและมาเลเซีย ในด้านการค้ามนุษย์และการเนรเทศ ทำให้เราสามารถส่งทีมงานประจำด่านตรวจคนเข้าเมืองในมาเลเซียเพื่อสัมภาษณ์ผู้ถูกคุมขังชาวไทยเพื่อคัดกรอง ในหมู่พวกเขาที่ตกเป็นเหยื่อของการค้ามนุษย์

  • 2009: สอบสวนคดีพิเศษ

    มีการจัดตั้งและดำเนินการกลไกใหม่ในการต่อต้านการค้ามนุษย์และการทุจริตในประเทศไทย AAT ร่วมกับเครือข่ายส่งเสริมให้มีการจัดตั้งกรมสอบสวนคดีพิเศษ ซึ่งเป็นหน่วยพิเศษจากโครงสร้างตำรวจที่สามารถตรวจสอบคดีพิเศษต่างๆ เช่น การทุจริตคอร์รัปชั่น ในปีนี้ AAT ยังมีการดำเนินการอย่างเป็นทางการกับสหภาพสตรีลาวอีกด้วย

  • 2010: ได้รับรางวัลด้านการค้ามนุษย์ระดับประเทศ

    ได้รับรางวัลระดับประเทศด้านปัญหาการค้ามนุษย์ ผลรางวัลจากโมเดลทีมสหสาขาวิชาชีพที่เราได้จัดตั้งขึ้นในศูนย์กักกันตรวจคนเข้าเมืองสะเดาเพื่อปกป้องเหยื่อการค้ามนุษย์

  • 2011: ศูนย์ภาคใต้ของประเทศไทย

    เปิดศูนย์ประสานงานอย่างเป็นทางการที่ภาคใต้ ประเทศไทย

หลักการและจริยธรรม

“เคารพศักดิ์ศรี ซื่อสัตย์สุจริต”

  • เคารพความเป็นส่วนตัว

    เราเคารพสิทธิและความเป็นส่วนตัวของผู้รอดชีวิต

  • ลำดับความสำคัญ

    เราให้ความสำคัญและมุ่งให้เกิดผลที่ดีที่สุดสำหรับเด็กและสตรี

  • เห็นอกเห็นใจ

    เราใช้ความเข้าใจและใส่ใจ ไม่ใช่สงสาร

  • ซื่อสัตย์

    เราทำงานด้วยความซื่อสัตย์สุจริต

  • เท่าเทียม

    เราเชื่อในความเท่าเทียม ปฏิบัติต่อทุกคนอย่างยุติธรรม โดยไม่คำนึงถึงอายุ เชื้อชาติ เพศ รสนิยมทางเพศ ศาสนา

  • เชื่อถือได้

    การทำงานของเราน่าเชื่อถือและไว้วางใจได้

พันธมิตรของเรา

DieSternsinger_Kindermissionswerk logo
Manos Unidas logo
UNDP logo
Free a girl logo
JICA logo

มีส่วนร่วมกับเรา

คุณเองก็สามารถเป็นผู้สร้างการเปลี่ยนแปลงได้!